Home

POPULAR

ส่องชีวิตน้องๆ ใน ‘สวนสัตว์เปิดเขาเขียว’ อย่างใกล้ชิด ตามติดตลอด 24 ชั่วโมง ที่แพลตฟอร์ม Zoodio

เคยสงสัยกันหรือเปล่าว่ายีราฟนอนอย่างไร เจ้าสล็อตที่เชื่องช้าแอบวิ่งเร็วตอนเราเผลอบ้างไหม ถึงเวลาค้นพบความลับของจักรวาลกันแล้ว เพราะแพลตฟอร์ม Zoodio เปิดโอกาสให้เราส่องชีวิตน้องๆ ในสวนสัตว์เปิดเขาเขียวกันแบบสดๆ ตลอด 24 ชั่วโมง Zoodio เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลสนับสนุนการเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ป่าที่พัฒนาขึ้นโดยองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ บนเว็บไซต์มีทัพสัตว์มากหน้าหลายตาที่พร้อมเปิดชีวิตแบบหมดเปลือกผ่าน Live Streaming ไม่ว่าจะเป็นเพนกวินฮัมโบลด์ ช้างเอเชีย โคอาลา ฮิปโปโปเตมัส หรือคาปิบารา เท่านั้นยังไม่พอ นอกจาก Live Streaming แล้ว บน Zoodio ยังมีข้อมูลของสัตว์ต่างๆ ให้อ่านอย่างละเอียด พร้อมทั้งสื่อสารคดีและ Infographic แสนน่ารัก ที่จัดหนักจัดเต็มความรู้ให้เราทุกคน อย่าลืมแวะไปทักทายสรรพสัตว์ทั้งหลายได้ที่ www.zoodio.live

438

FiNESSE โปรเจกต์ธีสิสวงไอดอลระยะสั้น ที่อยากให้คนรับรู้ความแตกต่าง และยอมรับการเป็นตัวของตัวเอง

“เฟทอยากให้สังคมรับรู้ว่า ‘ความต่าง’ ที่โดนปฏิเสธมาตลอด จริงๆ แล้วมันโดนปฏิเสธเพราะอะไร ไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่เก่ง แต่เป็นเพราะวงการไอดอลยังห่างไกลกับการยอมรับ Self-determination (สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเอง)” ในวันที่อุตสาหกรรม T-POP กำลังเติบโตและถูกจับตามองจากทั่วโลก ใครหลายคนอาจกำลังเดินตามความฝันของตัวเองอย่างสุดกำลัง แต่สำหรับใครบางคน ความฝันของพวกเขาอาจดับลงไปแล้ว เพียงเพราะพวกเขา ‘แตกต่าง’ จากสิ่งที่สังคมต้องการ ‘FiNESSE’ คือธีสิสวงไอดอลระยะสั้นจากฝีมือการโปรดิวซ์ของ ‘เฟท-ฐิตา เกษรสมบัติ’ อดีตสมาชิกไอดอลวง Siamese Kittenz ที่ปัจจุบันเป็นนิสิตชั้นปีสุดท้ายจากคณะนิเทศศาสตร์ ภาควิชาการสื่อสารมวลชน สาขาการออกแบบและผลิตสื่อ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งโปรเจกต์นี้ทำให้เราเห็นถึงความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของอุตสาหกรรมไอดอลที่ไม่จำเป็นต้องยึดติดอยู่ที่เพศสภาพ อายุ หรือบิวตี้สแตนดาร์ด คอลัมน์ Debut ขอพาไปรู้จักธีสิสวงไอดอล FiNESSE ให้มากขึ้นผ่านบทสนทนาของหญิงสาว ถึงแนวคิดจุดเริ่มต้นตั้งแต่เดย์วันของการตัดสินใจทำธีสิสว่า อะไรคือสิ่งที่อยากนำเสนอ จนถึงวันนี้ที่เธอพยายามผลักดันให้วงนี้เข้าสู่อุตสาหกรรมเพลงได้จริงในอนาคต ได้เวลาทำวงไอดอลระยะสั้น หลายคนคงเคยเห็นธีสิสที่ทำขึ้นโดยมีแรงบันดาลใจมาจากไอดอลที่ชอบ แต่สำหรับธีสิสของเฟทแตกต่างออกไป เพราะ ‘FiNESSE’ คือธีสิสที่เกิดจากเศษเสี้ยวความฝันการเป็นไอดอลของเธอเอง “อดีตเฟทเคยเป็นไอดอลมาก่อน แต่ในตอนนี้ ต่อให้อยากกลับไปเป็นอีกมันก็ไม่ง่ายแล้ว ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้นจนเกินเพดานการสมัคร และเรารู้สึกว่ามันคงมีคนที่เป็นแบบเราเยอะ เลยตัดสินใจทำโปรเจกต์นี้ขึ้นมา” เธอเล่าถึงจุดเริ่มต้น ธีสิสในรูปแบบวงไอดอลระยะสั้นเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในคณะ […]

223

รักไม่ได้แปลว่ารับได้ทั้งหมด หาเหตุผลว่า ทำไมคนที่เรารักถึงเป็น ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ให้เราไม่ได้

คำว่า ‘พื้นที่ปลอดภัย’ เป็นอีกหนึ่งคำที่พวกเราได้ยินกันบ่อยมาก เมื่อกำลังพูดถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต ซึ่งจริงๆ แล้ว ถ้าจะให้ฟังดูสมเหตุสมผล คนที่สามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กันและกันได้ ก็ควรเป็นคนสนิทหรือคนที่เรารักเขา-เขารักเราที่สุด แต่ในความเป็นจริง หลายครั้งเราก็ไม่อาจรู้สึกปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์จากคนที่เรารักหรือผูกพันที่สุด แม้ว่าเขาจะไม่ได้ตั้งใจทำให้เรารู้สึกแบบนั้นเลยก็ตาม และจุดนี้แหละที่ทำให้มันเป็นความจริงที่น่าเศร้า ใช่ เรายังรักเขาต่อไปได้ สิ่งนี้ไม่จำเป็นต้องกระทบความเข้มข้นและลึกซึ้งของความรักที่เรามีให้เขา แต่วันนี้มาลองทำความเข้าใจกันดีกว่าว่า มีความท้าทายไหนบ้างที่ยากจะทำให้คนรักของเราเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เรา และเราเองนั้นควรระวังอะไรบ้าง เพื่อจะยังคงเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้คนที่เรารักได้อย่างดีที่สุด พื้นที่ปลอดภัย ไม่ใช่พื้นที่เลิศหรูสมบูรณ์แบบ ผู้เขียนยังไม่เคยได้ยินใครเปรียบเทียบความรู้สึก ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ว่าเป็นปราสาทราชวังหรือเมืองหรูๆ ที่ไหน บางคนบอก พื้นที่ปลอดภัยคือพื้นที่ที่ได้คุยกับนักจิตวิทยาหรือนักจิตบำบัด บางคนบอก พื้นที่ปลอดภัยคือสนามบอลที่ได้ใช้เวลากับเพื่อน คือมุมชงกาแฟที่ให้ตัวเองได้พักจากความเครียดในที่ทำงาน คือวงเหล้าในบาร์ที่คุ้นเคย ฯลฯ พื้นที่ไหนทำให้เราได้เป็นตัวของตัวเอง ไม่ทำให้เรารู้สึกแปลกแยก แม้มันอาจจะไม่สบายตัวบ้าง หรือแตกต่างจากพื้นที่ของคนอื่นแค่ไหน แต่ความสบายใจที่ได้รับมันก็ชนะทุกอย่างอยู่ดี พื้นที่ปลอดภัย คือพื้นที่ที่ต้อนรับทุกอารมณ์และความรู้สึก ผู้เขียนเคยไปบรรยายในงานเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตงานหนึ่ง เขาตั้งคำถามว่า ทำอย่างไรลูกถึงจะรู้สึกว่าพ่อแม่คือพื้นที่ปลอดภัยของเขา โดยเฉพาะเวลาเกิดเหตุอันตราย เช่น ลูกถูกล่อลวงหรือโดนหลอกผ่านอินเทอร์เน็ต แล้วไม่กล้าบอกพ่อแม่ ทำให้ไม่มีที่พึ่งเพราะไม่รู้จะหันไปหาใครดี พวกเราโตมาพร้อมกับความเชื่อที่แบ่งแยกบางความรู้สึกว่า นี่คือความรู้สึกที่ดี ควรรู้สึกให้ได้บ่อยๆ และบางความรู้สึกก็เป็นความรู้สึกที่แย่ […]

175

กลับมาแล้วกับงานหนังสือมือสอง ราคาเริ่มต้นเพียง 20 บาท วันนี้ – 19 พ.ค. 67 ที่ห้องสมุด Neilson Hays

ใครที่เป็นนักอ่านที่หลงใหลในเสน่ห์ของหนังสือมือสอง อย่าลืมแวะเวียนไป ‘งานขายหนังสือมือสองประจำปี’ ของ ‘ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ (Neilson Hays Library)’ ที่ราคาหนังสือภายในงานเริ่มต้นเพียง 20 บาทเท่านั้น ในครั้งนี้ยังคงมีหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษมากมายหลายประเภทให้เลือกสรร ทั้งนิยาย สอบสวนลึกลับ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา หนังสือเด็ก หนังสือเก่า และหนังสือหายาก รวมไปถึงซีดีและดีวีดีด้วย หนังสือทั้งหมดนี้เป็นหนังสือที่ได้รับบริจาคมา และบางส่วนก็เป็นหนังสือที่ทางห้องสมุดคัดเลือกจากชั้นออกมาวางจำหน่าย ด้วยจำนวนที่ค่อนข้างมากและพื้นที่การขายที่ค่อนข้างจำกัด ดังนั้นจึงจะมีการนำหนังสือเข้ามาเติมเรื่อยๆ รับรองว่าจะได้เจอหนังสือเล่มใหม่ๆ ในแต่ละวันแน่นอน และงานนี้ก็ยังคงขอความร่วมมือให้นักช้อปทุกคนพกพากระเป๋าหรือถุงผ้ามาบรรจุหนังสือกลับบ้านไปด้วย เนื่องจากทางงานไม่มีถุงพลาสติกแจกให้ หรือหากถุงผ้าที่นำไปใส่หนังสือไม่พอ ทางห้องสมุดก็มีกระเป๋าผ้าจำหน่ายภายในงาน งานขายหนังสือมือสองประจำปี จัดขึ้นที่ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ ถนนสุรวงศ์ ตั้งแต่วันนี้ – 19 พฤษภาคม 2567 (ปิดวันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม) ตั้งแต่เวลา 09.30 – 17.00 น.

146

‘Thailand Biennale, Chiang Rai 2023’ เรียนรู้ เข้าใจ และตั้งคำถาม รวมความรู้สึกหลังชมงานศิลปะที่เชียงราย

งานศิลปะถือว่าเป็นตัวกลางรูปแบบหนึ่งที่ก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมในหลายๆ ทาง ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคำถาม การตระหนักรู้ หรืออาจเป็นการเรียนรู้บางเรื่องราวที่ศิลปินนำเสนอผ่านชิ้นงาน เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่นเดียวกันกับงาน ‘Thailand Biennale, Chiang Rai 2023’ ที่คราวนี้ขึ้นเหนือไปจัดแสดงผลงานศิลปะกันถึงจังหวัดเชียงราย โดยผลงานที่จัดแสดงนั้นก็ได้สะท้อนถึงความน่าสนใจของเมืองเชียงรายที่ซุกซ่อนอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ผ่านการตีความของศิลปินที่เข้าร่วมงานนี้ และในช่วงเดือนสุดท้ายของการจัดแสดงงาน Urban Creature ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมผลงานบางส่วนมาด้วย เราจึงอยากพาไปย้อนชมผลงานเหล่านั้น เพื่อซึมซับความงดงามและตีความสารที่ศิลปินต้องการสื่อพร้อมๆ กัน Thailand Biennale ‘Thailand Biennale’ คืองานมหกรรมศิลปะระดับชาติที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ สองปี โดยปีก่อนๆ ที่ผ่านมานั้น จังหวัดที่เป็นสถานที่จัดงานล้วนแล้วแต่เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ เรื่องราวทางวัฒนธรรม รวมถึงเป็นพื้นที่แห่งเมืองท่องเที่ยว ที่พร้อมเปิดให้คนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวต่างถิ่นได้เข้ามาใช้เวลาไปกับการชมงานศิลปะร่วมสมัยที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ของจังหวัด เปิดโลก ที่เชียงราย สำหรับครั้งที่ผ่านมา ‘Thailand Biennale, Chiang Rai 2023’ จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงราย ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเชียงแสน และ 13 พาวิลเลียนในจังหวัดเชียงราย จากศิลปินกว่า 60 คนทั่วโลก โดยงานนี้มาพร้อมกับคอนเซปต์ ‘เปิดโลก’ หรือ ‘The […]

122

‘AWHERENESS’ นำเสนอสถาปัตยกรรม 5 ย่านในกรุงเทพฯ ผ่านการแปลง ‘สัมผัส’ เป็น ‘ระบบภาษา’

ประสบการณ์ในชีวิตของคนเราประกอบขึ้นจากการประมวลผล 5 ประสาทสัมผัสเข้าด้วยกัน แล้วทำไมการนำเสนอสถาปัตยกรรมถึงหยุดอยู่แค่การนำเสนอผ่าน ‘รูป’ เพียงอย่างเดียว เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่และมองหาความเป็นไปได้ในการพรีเซนต์การออกแบบสถาปัตยกรรมในอนาคต สี่พี่ติวสถาปัตย์จาก Artstudio ได้แก่ เรืองวิทย์ วีระพงษ์ (@tunascientifica), พิริยวรรษ ลันสุชีพ (@flulululuke), สิรวิชญ์ ศิริชัยพันธุ์ (@sirawich_om) และลภัสรฎา ปั้นดี (@lprdd) ได้มารวมกันในชื่อ ‘V/AD B/SUAL Team’ (อ่านว่าวิแอดไบชวล) ที่ผวนมาจากคำว่า Visual Bias การรวมตัวกันในครั้งนี้เป็นไปเพื่อส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด ASA Experimental Design Competition 2024 พร้อมๆ กับน้องติว เพื่อนำผลงานมาเป็นตัวอย่างประกอบการสอน ให้น้องๆ ได้ดูเรื่องของวิธีการคิด การตีความโจทย์ และการหาไอเดีย ไปจนถึงการวางแผนทำเพลตนำเสนอ และเทคนิคการใช้โปรแกรมต่างๆ  เกิดเป็นการปฏิวัติการนำเสนอสถาปัตยกรรมจาก Architectural Visualization แบบเดิมๆ มาเป็น Architectural Sensualisation ที่นำเสนอสถาปัตยกรรมผ่านสัมผัสทั้ง 5 จนคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ […]

120

Childhood Amnesia ความทรงจำสีจาง

เราแทบไม่มีความทรงจำตอนช่วงแรกเกิดหลงเหลืออยู่เลย ยิ่งเมื่อโตขึ้นความทรงจำเหล่านี้ก็ยิ่งเลือนหายไป เราจึงอยากบันทึกเรื่องราวแทนความทรงจำของลูกด้วยภาพถ่ายฟิล์มขาวดำ เพราะเด็กแรกเกิดจะมองเห็นภาพเป็นสีขาวดำ จากนั้นก็นำฟิล์มมา Soup ด้วยน้ำนมของภรรยา ทำให้เกิดปฏิกิริยากับฟิล์มที่สื่อถึงการมองเห็นของลูกและความทรงจำที่เลือนราง ติดตามผลงานของ ชาคริสต์ เจือจ้อย ต่อได้ที่ Instagram : bombaychakrist และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

113

รู้จัก Heat Wave คลื่นความร้อนตัวร้าย กับวิธีการรับมือและนโยบายป้องกันประชากรจากทั่วโลก

“เขาว่ากันว่า ประเทศไทยมีสามฤดูคือ ร้อน ร้อนมาก ร้อนที่สุด” นี่คือคำพูดประชดประชันที่สะท้อนถึงความร้อนระอุของอากาศประเทศไทยที่เราไม่อยากชินชา แต่อุณหภูมิที่สูงขึ้นทุกปีนั้นไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เนื่องจากปัญหาอากาศร้อนสามารถส่งผลต่ออารมณ์และสภาพสังคม ซึ่งในปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหาอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างผิดปกติ และหนึ่งในสาเหตุหลักคือ ‘Heat Wave’ หรือคลื่นความร้อน องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO) ได้กำหนดนิยามของคลื่นความร้อนว่า ภาวะที่อุณหภูมิสูงสุดประจำวันเกินค่าอุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยประมาณ 5 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 5 วัน แน่นอนว่าในบรรดาประเทศที่เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว ล้วนได้รับผลกระทบมากมายจากความร้อนที่สะสมในพื้นที่ โดยเฉพาะในยุโรปและเอเชียที่เกิดความผิดปกติของอุณหภูมิอากาศค่อนข้างมาก ทำให้ในแต่ละปีจะมีผู้คนเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับความร้อน (Heat-related Illness) เป็นจำนวนไม่น้อย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างฉับพลันได้ ทำให้ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วงที่เกิดคลื่นความร้อน ประชาชนในหลายพื้นที่มีอัตราการใช้พลังงานสูงขึ้น เพราะต้องใช้เครื่องปรับอากาศทำความเย็น จนส่งผลให้บางพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า อีกทั้งปัญหาคลื่นความร้อนยังส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายในปริมาณมาก รวมถึงผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์อีกด้วย  จากที่กล่าวมาข้างต้น เราจะเห็นว่าปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อผู้คนทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายประเทศทั่วโลกจำเป็นต้องประกาศนโยบายและแนวทางการแก้ไขเพื่อรับมือกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงขึ้นทุกปีๆ นโยบายมาตรการรับมือคลื่นความร้อนจากทั่วโลก คลื่นความร้อนสร้างปัญหาให้เมืองมากกว่าแค่ทางความรู้สึก เพราะมันส่งผลถึงทั้งสุขภาพและเศรษฐกิจ รวมไปถึงปัญหาด้านพลังงาน ทำให้หลายประเทศสร้างแผนรับมือคลื่นความร้อน ซึ่งประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานรัฐบาลต่างๆ ยกตัวอย่าง ประเทศฝรั่งเศส ที่มีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทั้งการสร้างอาคารทนความร้อน โดยเฉพาะสถานที่สาธารณะ เช่น […]

102

LATEST

BANGKOK 3024 นิทรรศการท่องกรุงเทพฯ ในอีก 1,000 ปีข้างหน้า วันนี้ – 14 ก.ค. 67 ที่ชั้น G ห้างฯ Central Embassy

ในอีก 1,000 ปีข้างหน้า กรุงเทพฯ ของเราจะมีหน้าตาเป็นยังไง นี่คือคอนเซปต์หลักของ ‘BANGKOK 3024’ นิทรรศการในรูปแบบ World-class Immersive Showcase เต็มรูปแบบครั้งแรกในประเทศไทย นิทรรศการนี้สร้างสรรค์โดย Daniel Arsham ศิลปินหนุ่มสัญชาติอเมริกัน ที่มักพาผู้คนไปสำรวจอดีต ปัจจุบัน และอนาคตผ่านผลงานอยู่เสมอๆ โดยครั้งนี้เขาจะพาเราเดินทางข้ามเวลาไปสำรวจโลกกรุงเทพฯ ในปี 3024 กัน BANGKOK 3024 เกิดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของห้างฯ Central Embassy ด้วยแนวคิด 10-year Anniversary of Ace Possibilities ที่เนรมิตทางเดินเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอสให้กลายเป็นเส้นทางจำลองเอกลักษณ์การสร้างสรรค์ผลงานของ Daniel Arsham เมื่อเข้ามาภายในห้างสรรพสินค้า เรายังจะได้พบกับ Art Installation ที่จัดแสดงผลงานชิ้นเอกอย่าง ‘Excavation Walls’ กำแพงที่เล่นระดับเรียงซ้อนกัน เปรียบเสมือนประตูมิติที่มีร่องรอยการสึกกร่อน บริเวณพื้นประกอบด้วยสะพานสีน้ำเงินทอดยาว ตัดกับหินกรวดสีขาวที่ถูกคราด จนเกิดลวดลายอันสวยงามตามแบบฉบับของ Zen Garden […]

ชีวิตนายน้อยชิเอล ‘Black Butler’ จะเป็นอย่างไร ถ้าโรงเรียนเวสตันตั้งอยู่ในประเทศไทย

สืบคดีบนเรือสำราญคัมปาเนียจบไปได้ไม่นาน ‘ชิเอล แฟนทอมไฮฟ์’ และ ‘เซบาสเตียน’ พ่อบ้านปีศาจของเขาก็ต้องวุ่นอีกครั้ง  หลังมีจดหมายจากองค์ราชินีให้เข้าไปช่วยสืบคดีเด็กนักเรียนหายตัวไปในโรงเรียนประจำชั้นนำที่มีชื่อเสียงของประเทศอังกฤษอย่าง ‘โรงเรียนเวสตัน’ ที่ยึดถือขนบธรรมเนียมอย่างเคร่งครัด จนแอบนึกเปรียบเทียบไม่ได้ว่า จริงๆ แล้วโรงเรียนในประเทศไทยเองก็มีความคล้ายคลึงกันกับโรงเรียนเวสตันในการ์ตูนเรื่อง Black Butler อยู่ไม่น้อย ทั้งเรื่องกฎระเบียบและขนบธรรมเนียมที่ยึดถือกันมา งั้นถ้าเกิดว่าโรงเรียนเวสตันที่ว่าตั้งอยู่ในประเทศไทย ชีวิตนายน้อยชิเอลกับเซบาสเตียนในรั้วโรงเรียนจะเป็นอย่างไร และจะสืบคดีได้ไหม ‘ไปอ่านกันเลย เซบาสเตียน’‘เยส มายลอร์ด’ กฎโรงเรียนของเราน่าอยู่? ความน่าอยู่ของแต่ละโรงเรียนอาจขึ้นอยู่กับความคิดเห็นส่วนตัวของแต่ละคน แต่เรื่อง ‘บ้ากฎ’ เนี่ยก็ต้องบอกว่าประเทศไทยไม่เคยน้อยหน้าใคร เพราะจากกฎข้อ 48 ของโรงเรียนเวสตันเดิมที่กำหนดไว้ว่า ‘คนที่จะเดินลัดสนามหญ้าได้มีแต่พรีเฟกต์และคนที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น’ ก็ดูไม่แปลกประหลาดเท่าไหร่นักเมื่อเทียบกับประเทศไทยที่มีกฎข้อห้ามและข้อบังคับจำนวนมากที่อาจแปลกประหลาดไม่ต่างกัน ทั้งบังคับใส่เครื่องแต่งกายตามเพศสภาพ ไม่ใช่เพศวิถี บังคับตัดผมสั้นรองทรง ย้อมผมสีดำทั้งที่บางคนพื้นผมธรรมชาติเป็นสีน้ำตาล หรือจะกฎประหลาดๆ อย่างต้องใส่ถุงเท้าพื้นขาว ยืนเข้าแถวกลางแดด ไปจนถึงห้ามใช้กระเป๋าจากนอกโรงเรียนและอื่นๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน ส่วนชิเอลที่ต้องมาสืบคดีในโรงเรียนนี้ก็คงไม่มีเวลาปลีกตัวไปทำภารกิจ เพราะต้องมาเข้าแถวตรวจระเบียบทุกเช้า เช็กชื่อในห้องทุกวิชา แถมยังต้องมาปวดหัวกับกฎแปลกๆ อีก กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ พูดถึงกีฬา ‘คริกเก็ต’ ในเรื่อง หลายคนอาจไม่ค่อยคุ้นหู เพราะประเทศไทยเรานิยมแข่ง ‘กีฬาสี’ […]

คุยกับเจ้าของเพจหนังผีสั้น ‘วิฬารปรัมปรา’

หากไถฟีดวิดีโอแล้วพบเจอกับหนังสั้นละครคุณธรรมมากมายนับไม่ถ้วน เดี๋ยวคนนั้นเป็นเจ้าของธุรกิจที เดี๋ยวคนนี้เป็นเจ้าของบริษัทบ้าง หากความจำเจนี้ทำให้คุณเบื่อหน่ายกับมัน เราขอพาทุกคนเปลี่ยนรสชาติเรื่องราวเหล่านี้ให้กระตุกต่อมความรู้สึก ‘กลัว’ มากขึ้น แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณธรรมที่เหล่าคนทำผิดต้องได้รับบทลงโทษผ่านเพจ ‘วิฬารปรัมปรา’ วิฬารปรัมปรา คือเพจแมวน้อยลึกลับที่มาพร้อมกับเรื่องเล่าสุดลี้ลับ แปรเปลี่ยนเรื่องราวเหล่านี้ให้กลายเป็นหนังสั้นและการ์ตูนสยองขวัญที่มักจะสะท้อนสังคม นำพาไปสู่การเรียนรู้ที่จะทำให้เห็นคุณค่าของชีวิตในแต่ละวันมากขึ้น ‘ความจริงแล้ว ฉันน่ะคือ…เจ้าของเพจวิฬารปรัมปรา!’ Urban Creature คุยกับ ‘อี่-วรันย์ ศิริประชัย’ เจ้าของเพจวิฬารปรัมปรา ครั้งแรกของการเปิดหน้าคนทำหนังสั้นบนโลกออนไลน์ ถึงแรงบันดาลใจจากละครคุณธรรมที่ยอดชมถล่มทลายไปถึงหนึ่งล้านวิว และมีการพูดถึงมากมายบนโลกออนไลน์ ติดตามเพจวิฬารปรัมปราได้ที่ : www.facebook.com/cattellsthetales

สรุประบบการคัดเลือก สว.แบบใหม่ แตกต่างจากเดิมอย่างไร และใครสมัครเป็น สว.ได้บ้าง

วันเปิดรับสมัครสมาชิกวุฒิสภาหรือ สว. เริ่มเข้าใกล้มากขึ้นทุกที แต่หลายคนยังสับสนและสงสัยกันว่า การเกิดขึ้นของ สว.ชุดนี้จะแตกต่างจากเดิมอย่างไร ทำไมประชาชนทั่วไปอย่างเราถึงสามารถสมัครกันได้ สำหรับการคัดเลือก สว.ในครั้งนี้จะเป็นระบบแบบใหม่แทนการจัดตั้ง โดยเปิดรับผู้สมัครทั่วไปที่ลงสมัครได้ตามกลุ่มอาชีพของตัวเอง และเป็นการ ‘เลือกกันเอง’ ระหว่างผู้ลงสมัคร ซึ่งอาจทำให้ระบบการคัดเลือกลักษณะนี้เป็นการเอื้อต่อคนที่มีทั้งเครือข่าย คนรู้จัก หรือแม้แต่เงินทองที่เกณฑ์คนไปสมัคร และลงคะแนนเสียงให้คนในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งก็จะไม่ต่างอะไรจากการจัดตั้งแบบครั้งที่ผ่านๆ มา ดังนั้นการเลือก สว.ในครั้งนี้จึงต้องการผู้สมัครอิสระจำนวนมากเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการใช้เสียงโหวตเพื่อป้องกันการทุจริตที่จะเกิดขึ้นตามมา นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน และเป็นการเปิดรับตัวแทนที่มีความคิดหลากหลายมากขึ้นกว่าเดิม ทาง ‘iLaw’ และเครือข่ายได้จัดตั้งแคมเปญ ‘สมัครเพื่อโหวต’ เพื่อสนับสนุนให้ภาคประชาชนได้เข้าร่วมเป็นผู้สมัคร สว. หากใครที่สนใจ ตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครได้ที่ senate67.com/checklist  เมื่อตรวจสอบคุณสมบัติแล้วผ่านเกณฑ์ ก็เตรียมตัวสมัครได้ตั้งแต่วันที่ 20 – 24 พฤษภาคม 2567 โดยรับใบสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ที่ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตใดก็ได้ทั่วประเทศ ส่วนใครที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติที่จะลงสมัคร สว. ก็อย่าลืมช่วยกันเป็นหูเป็นตา คอยดูความเคลื่อนไหวของการสมัครและเลือก สว.ในครั้งนี้ เพื่อความถูกต้องของเส้นทางการเป็นประชาธิปไตยในบ้านเรา Sources : iLaw | ilaw.or.thSenate67 | senate67.com

กางสถิติจำนวนรถยนต์ในกรุงเทพฯ​ เมืองที่มีรถมากกว่าคนแบบเท่าตัว

นอกจากวัด วัง แม่น้ำเจ้าพระยาที่เปี่ยมด้วยชีวิตชีวา และสตรีทฟู้ดอันยั่วน้ำลาย อีกสิ่งอย่างที่คนนึกถึงเมื่อพูดถึงกรุงเทพฯ ก็คือ ท้องถนนที่หนาแน่นแออัดไปด้วยรถยนต์แบบสุดลูกหูลูกตา เนื่องจากกรุงเทพฯ ขาดการพัฒนาเมืองอย่างเป็นแบบแผน เมืองเต็มไปด้วยซอยตันลึกแคบ ซึ่งกว่าจะเดินด้วยเท้าไปถึงขนส่งมวลชนสาธารณะได้ก็แสนจะยากเย็น แถมเมืองไม่ได้ออกแบบให้เป็นมิตรกับคนเดินเท้าอีก ผู้คนเลยกรูไปใช้รถยนต์ในการเดินทางกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ใน พ.ศ. 2565 เว็บไซต์ INRIX วิเคราะห์ว่า คนกรุงเทพฯ หนึ่งคนเสียเวลาเดินทางบนท้องถนนเฉลี่ยมากถึง 67 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 ของเอเชีย น่าสนใจเหมือนกันว่า จริงๆ แล้วกรุงเทพฯ มีรถเยอะจริงไหม แล้วบรรดารถยนต์ที่เบียดเสียดในกรุงเทพฯ เป็นรถยนต์แบบไหนบ้าง คอลัมน์ City by Numbers ครั้งนี้เลยขอเอาข้อมูลรถยนต์จดทะเบียนสะสมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566 จากกลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก มากางให้หายสงสัย กรุงเทพฯ รถเยอะกว่าคน จากสถิติจำนวนรถจดทะเบียนสะสมในกรุงเทพมหานคร วันที่ 31 ธันวาคม ปี 2566 พบว่า กรุงเทพฯ มีจำนวนรถจดทะเบียนทั้งหมด 11,791,220 […]

รักไม่ได้แปลว่ารับได้ทั้งหมด หาเหตุผลว่า ทำไมคนที่เรารักถึงเป็น ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ให้เราไม่ได้

คำว่า ‘พื้นที่ปลอดภัย’ เป็นอีกหนึ่งคำที่พวกเราได้ยินกันบ่อยมาก เมื่อกำลังพูดถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต ซึ่งจริงๆ แล้ว ถ้าจะให้ฟังดูสมเหตุสมผล คนที่สามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กันและกันได้ ก็ควรเป็นคนสนิทหรือคนที่เรารักเขา-เขารักเราที่สุด แต่ในความเป็นจริง หลายครั้งเราก็ไม่อาจรู้สึกปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์จากคนที่เรารักหรือผูกพันที่สุด แม้ว่าเขาจะไม่ได้ตั้งใจทำให้เรารู้สึกแบบนั้นเลยก็ตาม และจุดนี้แหละที่ทำให้มันเป็นความจริงที่น่าเศร้า ใช่ เรายังรักเขาต่อไปได้ สิ่งนี้ไม่จำเป็นต้องกระทบความเข้มข้นและลึกซึ้งของความรักที่เรามีให้เขา แต่วันนี้มาลองทำความเข้าใจกันดีกว่าว่า มีความท้าทายไหนบ้างที่ยากจะทำให้คนรักของเราเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เรา และเราเองนั้นควรระวังอะไรบ้าง เพื่อจะยังคงเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้คนที่เรารักได้อย่างดีที่สุด พื้นที่ปลอดภัย ไม่ใช่พื้นที่เลิศหรูสมบูรณ์แบบ ผู้เขียนยังไม่เคยได้ยินใครเปรียบเทียบความรู้สึก ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ว่าเป็นปราสาทราชวังหรือเมืองหรูๆ ที่ไหน บางคนบอก พื้นที่ปลอดภัยคือพื้นที่ที่ได้คุยกับนักจิตวิทยาหรือนักจิตบำบัด บางคนบอก พื้นที่ปลอดภัยคือสนามบอลที่ได้ใช้เวลากับเพื่อน คือมุมชงกาแฟที่ให้ตัวเองได้พักจากความเครียดในที่ทำงาน คือวงเหล้าในบาร์ที่คุ้นเคย ฯลฯ พื้นที่ไหนทำให้เราได้เป็นตัวของตัวเอง ไม่ทำให้เรารู้สึกแปลกแยก แม้มันอาจจะไม่สบายตัวบ้าง หรือแตกต่างจากพื้นที่ของคนอื่นแค่ไหน แต่ความสบายใจที่ได้รับมันก็ชนะทุกอย่างอยู่ดี พื้นที่ปลอดภัย คือพื้นที่ที่ต้อนรับทุกอารมณ์และความรู้สึก ผู้เขียนเคยไปบรรยายในงานเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตงานหนึ่ง เขาตั้งคำถามว่า ทำอย่างไรลูกถึงจะรู้สึกว่าพ่อแม่คือพื้นที่ปลอดภัยของเขา โดยเฉพาะเวลาเกิดเหตุอันตราย เช่น ลูกถูกล่อลวงหรือโดนหลอกผ่านอินเทอร์เน็ต แล้วไม่กล้าบอกพ่อแม่ ทำให้ไม่มีที่พึ่งเพราะไม่รู้จะหันไปหาใครดี พวกเราโตมาพร้อมกับความเชื่อที่แบ่งแยกบางความรู้สึกว่า นี่คือความรู้สึกที่ดี ควรรู้สึกให้ได้บ่อยๆ และบางความรู้สึกก็เป็นความรู้สึกที่แย่ […]

ทำความรู้จักน้อง ‘วอมแบต’ สัตว์โลกตัวใหม่ของชาวโซเชียล ที่เห็นทีไรก็เกาตูดทุกที

ได้เวลารับไม้ต่อจากคาปิบาราแช่น้ำร้อน ด้วยตัววอมแบตเกาตูดที่เห็นทีไรก็ต้องใช้เสียงสองเรียกน้องไปซะทุกที วันนี้ Urban Creature เลยอยากพาน้องมาแนะนำตัวกับทุกคนอย่างเป็นทางการ วอมแบต (Wombat) เป็นสัตว์ที่มองผ่านๆ เหมือนหมีผสมหนู แต่แท้จริงแล้วเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ตัวเมียมีกระเป๋าหน้าท้อง (Marsupium) ให้ลูกน้อยได้เติบโตเช่นเดียวกับจิงโจ้ ปกติแล้ววอมแบตอาศัยอยู่ในโพรงดิน ทำให้มีลำตัวสั้นอ้วนกลม ขาสั้น และกรงเล็บที่แข็งเพื่อช่วยในการขุดสร้างโพรงใต้ดิน จัดเป็นสัตว์ที่ออกหากินในเวลากลางคืนและกินพืชเป็นอาหาร นอกจากความน่ารักของบั้นท้ายที่หลายคนเครซีกันแล้ว ส่วนนี้ยังถือเป็นอาวุธแข็งแกร่งในการปกป้องโพรง ด้วยการหันเอาตูดออกหน้าโพรง ทำหน้าที่เป็นประตูบ้านที่ไม่เปิดให้ใครเข้ามา ส่วนที่น้องชอบเกาตูดอยู่บ่อยๆ คาดว่าเกิดจากไรขี้เรื้อนที่ฝังตัวเองอยู่ใต้ผิวหนังของวอมแบต ทำให้เกิดอาการคันอย่างรุนแรง อีกทั้งการขับถ่ายของวอมแบตยังน่าสนใจไม่น้อย เพราะน้องอึออกมาเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมลูกเต๋า ครั้งละ 80 – 100 ก้อนต่อคืนเลยทีเดียว Sources : NSM | t.ly/-MJpBWildLife Explained – Animal Facts Channel | t.ly/DAFyhWPSA | www.wombatprotection.org.au/mange-diseaseองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยฯ | t.ly/PRH9l

ส่องชีวิตน้องๆ ใน ‘สวนสัตว์เปิดเขาเขียว’ อย่างใกล้ชิด ตามติดตลอด 24 ชั่วโมง ที่แพลตฟอร์ม Zoodio

เคยสงสัยกันหรือเปล่าว่ายีราฟนอนอย่างไร เจ้าสล็อตที่เชื่องช้าแอบวิ่งเร็วตอนเราเผลอบ้างไหม ถึงเวลาค้นพบความลับของจักรวาลกันแล้ว เพราะแพลตฟอร์ม Zoodio เปิดโอกาสให้เราส่องชีวิตน้องๆ ในสวนสัตว์เปิดเขาเขียวกันแบบสดๆ ตลอด 24 ชั่วโมง Zoodio เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลสนับสนุนการเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ป่าที่พัฒนาขึ้นโดยองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ บนเว็บไซต์มีทัพสัตว์มากหน้าหลายตาที่พร้อมเปิดชีวิตแบบหมดเปลือกผ่าน Live Streaming ไม่ว่าจะเป็นเพนกวินฮัมโบลด์ ช้างเอเชีย โคอาลา ฮิปโปโปเตมัส หรือคาปิบารา เท่านั้นยังไม่พอ นอกจาก Live Streaming แล้ว บน Zoodio ยังมีข้อมูลของสัตว์ต่างๆ ให้อ่านอย่างละเอียด พร้อมทั้งสื่อสารคดีและ Infographic แสนน่ารัก ที่จัดหนักจัดเต็มความรู้ให้เราทุกคน อย่าลืมแวะไปทักทายสรรพสัตว์ทั้งหลายได้ที่ www.zoodio.live

กลับมาแล้วกับงานหนังสือมือสอง ราคาเริ่มต้นเพียง 20 บาท วันนี้ – 19 พ.ค. 67 ที่ห้องสมุด Neilson Hays

ใครที่เป็นนักอ่านที่หลงใหลในเสน่ห์ของหนังสือมือสอง อย่าลืมแวะเวียนไป ‘งานขายหนังสือมือสองประจำปี’ ของ ‘ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ (Neilson Hays Library)’ ที่ราคาหนังสือภายในงานเริ่มต้นเพียง 20 บาทเท่านั้น ในครั้งนี้ยังคงมีหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษมากมายหลายประเภทให้เลือกสรร ทั้งนิยาย สอบสวนลึกลับ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา หนังสือเด็ก หนังสือเก่า และหนังสือหายาก รวมไปถึงซีดีและดีวีดีด้วย หนังสือทั้งหมดนี้เป็นหนังสือที่ได้รับบริจาคมา และบางส่วนก็เป็นหนังสือที่ทางห้องสมุดคัดเลือกจากชั้นออกมาวางจำหน่าย ด้วยจำนวนที่ค่อนข้างมากและพื้นที่การขายที่ค่อนข้างจำกัด ดังนั้นจึงจะมีการนำหนังสือเข้ามาเติมเรื่อยๆ รับรองว่าจะได้เจอหนังสือเล่มใหม่ๆ ในแต่ละวันแน่นอน และงานนี้ก็ยังคงขอความร่วมมือให้นักช้อปทุกคนพกพากระเป๋าหรือถุงผ้ามาบรรจุหนังสือกลับบ้านไปด้วย เนื่องจากทางงานไม่มีถุงพลาสติกแจกให้ หรือหากถุงผ้าที่นำไปใส่หนังสือไม่พอ ทางห้องสมุดก็มีกระเป๋าผ้าจำหน่ายภายในงาน งานขายหนังสือมือสองประจำปี จัดขึ้นที่ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ ถนนสุรวงศ์ ตั้งแต่วันนี้ – 19 พฤษภาคม 2567 (ปิดวันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม) ตั้งแต่เวลา 09.30 – 17.00 น.

Childhood Amnesia ความทรงจำสีจาง

เราแทบไม่มีความทรงจำตอนช่วงแรกเกิดหลงเหลืออยู่เลย ยิ่งเมื่อโตขึ้นความทรงจำเหล่านี้ก็ยิ่งเลือนหายไป เราจึงอยากบันทึกเรื่องราวแทนความทรงจำของลูกด้วยภาพถ่ายฟิล์มขาวดำ เพราะเด็กแรกเกิดจะมองเห็นภาพเป็นสีขาวดำ จากนั้นก็นำฟิล์มมา Soup ด้วยน้ำนมของภรรยา ทำให้เกิดปฏิกิริยากับฟิล์มที่สื่อถึงการมองเห็นของลูกและความทรงจำที่เลือนราง ติดตามผลงานของ ชาคริสต์ เจือจ้อย ต่อได้ที่ Instagram : bombaychakrist และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

‘Aesop Thonglor’ ซิกเนเจอร์สโตร์สาขาแรกของไทยที่เต็มไปด้วยกลิ่นหอมและความสวยงามของไม้สักไทย

‘Aesop’ คือแบรนด์สกินแคร์จากออสเตรเลีย ที่ติดอันดับเรื่องความหอมของไลน์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งก่อนหน้านี้มีสาขาให้เลือกซื้อแค่ภายในห้างสรรพสินค้าเท่านั้น แต่ตอนนี้แบรนด์ได้เปิดร้าน Stand Alone เป็นซิกเนเจอร์สโตร์สาขาแรกในประเทศไทยที่ซอยทองหล่อ 13 ในชื่อ ‘Aesop Thonglor’ สำหรับซิกเนเจอร์สโตร์สาขาแรกนี้ก็ได้ Sher Maker Studio สตูดิโอสถาปนิกจากเชียงใหม่มาร่วมออกแบบ ด้วยดีไซน์และไม้สักเหลือใช้จากท้องถิ่นที่ประกอบเข้าด้วยกันอย่างลงตัว ทำให้ร้านแห่งนี้เต็มไปด้วยกลิ่นอายของศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย รวมไปถึงสถาปัตยกรรมและความสวยงามแบบไทย ส่งให้บรรยากาศในร้านมีความน่าสนใจมากขึ้น เมื่อเข้าไปภายในพื้นที่หลักของร้าน จะเจอกับอ่างล้างมือที่ทำจากหินแกรนิตชนิดเดียวกับที่นิยมใช้ในห้องครัวท้องถิ่นตั้งอยู่กลางร้าน และถัดไปจะพบกับห้องฝาไหล ซึ่งเป็นบานเลื่อนที่ได้แรงบันดาลใจมาจากเรือนทางภาคเหนือที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว ถือเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ที่น่าสนใจของซิกเนเจอร์สโตร์แห่งนี้ ส่วนด้านหลังบานประตูนั้นจะเป็นตู้เก็บกลิ่นหอมที่เชื้อเชิญทุกคนเข้าสู่พื้นที่แห่งความหอม ด้วยคอลเลกชันที่ไม่เหมือนใครจาก Aesop โดยเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทั้งสกินแคร์ แชมพู น้ำหอม เครื่องหอมในบ้าน ไปจนถึงผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยงทั้งหมดได้ที่นี่ ชมความสวยงามของร้านค้าและช้อปปิงกันได้ที่ Aesop Thonglor ในซอยทองหล่อ 13 เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00 – 20.00 น.

‘AWHERENESS’ นำเสนอสถาปัตยกรรม 5 ย่านในกรุงเทพฯ ผ่านการแปลง ‘สัมผัส’ เป็น ‘ระบบภาษา’

ประสบการณ์ในชีวิตของคนเราประกอบขึ้นจากการประมวลผล 5 ประสาทสัมผัสเข้าด้วยกัน แล้วทำไมการนำเสนอสถาปัตยกรรมถึงหยุดอยู่แค่การนำเสนอผ่าน ‘รูป’ เพียงอย่างเดียว เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่และมองหาความเป็นไปได้ในการพรีเซนต์การออกแบบสถาปัตยกรรมในอนาคต สี่พี่ติวสถาปัตย์จาก Artstudio ได้แก่ เรืองวิทย์ วีระพงษ์ (@tunascientifica), พิริยวรรษ ลันสุชีพ (@flulululuke), สิรวิชญ์ ศิริชัยพันธุ์ (@sirawich_om) และลภัสรฎา ปั้นดี (@lprdd) ได้มารวมกันในชื่อ ‘V/AD B/SUAL Team’ (อ่านว่าวิแอดไบชวล) ที่ผวนมาจากคำว่า Visual Bias การรวมตัวกันในครั้งนี้เป็นไปเพื่อส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด ASA Experimental Design Competition 2024 พร้อมๆ กับน้องติว เพื่อนำผลงานมาเป็นตัวอย่างประกอบการสอน ให้น้องๆ ได้ดูเรื่องของวิธีการคิด การตีความโจทย์ และการหาไอเดีย ไปจนถึงการวางแผนทำเพลตนำเสนอ และเทคนิคการใช้โปรแกรมต่างๆ  เกิดเป็นการปฏิวัติการนำเสนอสถาปัตยกรรมจาก Architectural Visualization แบบเดิมๆ มาเป็น Architectural Sensualisation ที่นำเสนอสถาปัตยกรรมผ่านสัมผัสทั้ง 5 จนคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ […]

SEE MORE

VIDEOS

ให้หนังสือทำมือมีซีนที่ SPACEBAR ZINE

การจะทำหนังสือของตัวเองสักเล่มหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เราขอแนะนำให้รู้จักกับซีน (Zine) หนังสือทำมือที่เราสามารถ สร้างสรรค์ขึ้นมาเอง ตั้งแต่การคิดเนื้อหาจนถึงการออกแบบรูปเล่ม โดยไม่ยึดอยู่กับกรอบของการบรรณาธิกรหรือสำนักพิมพ์ใดๆ สำหรับใครที่อยากสะสมซีนหรือเรียนรู้การทำซีน Urban Creature ขอพาไปทำความรู้จักกับ Spacebar Zine ร้านหนังสือสิ่งพิมพ์อิสระจาก Spacebar Design Studio โดย ‘วิว-วิมลพร วิสิทธิ์’ พื้นที่ให้ทุกคนที่สนใจทำสิ่งพิมพ์ ของตัวเองเข้ามาพูดคุยหรือเลือกหาซีนที่ชอบได้อย่างอิสระ

แกะรหัสความเกรงใจ แกะรหัสความเป็นไทย กับ Phum Viphurit

จากการเติบโตที่นิวซีแลนด์กลับมาสู่ประเทศไทย วัฒนธรรมเมืองที่แตกต่างทำให้ ‘Phum Viphurit’ นักร้องเจ้าของเพลงดังอย่าง ‘Lover Boy’ ต้องปรับตัวกลับมาให้เข้ากับสังคมไทย จนเริ่มสังเกตเห็นความเป็นไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากกว่าชาติอื่นๆ และอยากจะเล่าความเป็นไทยนี้ให้ต่างประเทศได้รู้จักผ่านเสียงเพลง ‘This is called The Greng Jai Piece and it’s not yours to eat.’ Urban Creature พาไปแกะรหัสความเป็นไทย แกะรหัสความเกรงใจของ ‘ภูมิ วิภูริศ’ ถึงมุมมองตัวเองที่มองประเทศไทย จนกลายมาเป็นอัลบั้ม The Greng Jai Piece

รวมคำถามยอดฮิตจากคนเมืองถึงไรเดอร์

“ปักหมุดให้แล้วทำไมยังมาไม่ถูก” “ต้องส่งกี่ออเดอร์ถึงจะพออยู่ได้” “ไรเดอร์รวมตัวกันเรียกร้องอะไร” Urban Creature รวบรวม 108 คำถามยอดฮิตที่คนเมืองสงสัย จนหลายครั้งก็ยังนั่งจับเข่าคุยกับพี่ไรเดอร์ Urban Creature ร่วมกับ @Nabi Fellows Program โครงการเสริมศักยภาพด้านสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาคุณค่าประชาธิปไตย ผ่านโครงการวิจัย การผลิตสื่อ และสารคดี

URBAN UNTOLD | เรื่องเล่าที่คนทำสื่อไม่ได้เล่า

“ตอนแรกคิดว่าเขายื่นฟ้องในนามสื่อ แต่พบว่าเราโดนคนเดียวนี่นา”“เป็นสื่อต้องเสียสละ? ไม่จริง สื่อเองก็อยากจะสุขสบายเหมือนกัน” Urban Untold ชวนคนที่ต้องเล่าเรื่องของคนอื่นเป็นอาชีพอย่างนักสื่อสารมวลชน มาเล่าเรื่องของตัวเอง เรื่องที่คนอาจไม่รู้ หรือมองข้ามเพราะมองว่าเป็นหน้าที่ที่สื่อต้องเสียสละ Urban Creature ร่วมกับ Nabi Fellows Program โครงการเสริมศักยภาพด้านสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาคุณค่าประชาธิปไตย ผ่านโครงการวิจัย การผลิตสื่อ และสารคดี

ไฮป์ขั้นสุด! บุกเวทีมวยปล้ำไทย

The Rock, Cody Rhodes, Wrestlemania XL สามชื่อที่กำลังมาแรงสุดๆ ของวงการมวยปล้ำ ทำให้คนไทยหลายคนพร้อมใจกันเริ่มหรือกลับมาดูมวยปล้ำกันอย่างสนุกสนาน Urban Creature ขอชวนทุกคนกลับไปดูบรรยากาศติดขอบเวที SETUP Thailand Pro Wrestling ค่ายมวยปล้ำไทยที่เดินทางมาไกล จากปล้ำบนเบาะเล็กๆ จนถึงวันที่มีคนดูจุสถานที่ และมีนักมวยปล้ำเบอร์ต้นๆ ของโลกอย่าง Zack Sabre Jr. และ EL Phantasmo ที่แฟนมวยปล้ำญี่ปุ่น อเมริกา และทั่วโลกต่างรู้จัก เดินทางมาเยือนกรุงเทพฯ และปล้ำโชว์ร่วมกับไลน์อัปนักมวยปล้ำไทยที่อยู่ร่วมกันบนเวทีได้อย่างไม่น้อยหน้าใคร ปัจจุบันมวยปล้ำไทยมีพันธมิตรอยู่ทั่วโลก และได้มีการส่งยอดฝีมือไปแสดงฝีมือในที่ต่างๆ ไม่ว่าจะค่ายยักษ์ใหญ่ของทั้งญี่ปุ่นและอเมริกา ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่มวยปล้ำไทยกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด หากใครมีโอกาสต้องมาสัมผัสด้วยตาตัวเอง

คุยเรื่องผังเมืองกับ รศ. ดร.นพนันท์

กรุงเทพฯ เมืองเทพสร้างที่มีปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นรถติด น้ำท่วม ซอยตัน และไม่มีทีท่าว่าปัญหาเหล่านี้จะหายไปสักที อาจเพราะเทพไม่ได้ร่างแผนผังเมืองไว้ก่อน “ปัญหาของเราคือขาดช่วงของการทำงานด้านผังเมืองในช่วงที่มันมีการเติบโตสูงที่สุดของกรุงเทพฯ” Urban Creature คุยกับ รศ. ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวิชาการจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำ ‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 4’ ถึงความสำคัญของผังเมืองและต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้นมากมายจนสะท้อนไปถึงภาพลักษณ์ของประเทศไทย อ่านในรูปแบบบทความได้ที่ : urbancreature.co/city-plan-with-noppanan/

URBAN PODCAST

REPORT

ความรุ่มรวยของ ‘สุราชุมชน’ และ ‘วัฒนธรรมการดื่ม’ ของญี่ปุ่น

หนุ่มสาวออฟฟิศใส่สูทผูกไทนั่งสังสรรค์กันในร้านเหล้า มนุษย์เงินเดือนออกไปดื่มกับหัวหน้าและลูกค้าจนดึก แถมยังเมาเละเทะจนหมดสภาพ เหตุการณ์เหล่านี้คือภาพสะท้อนสังคมญี่ปุ่นที่หลายคนคงเคยเห็นในข่าวหรือสื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง ส่วนใครที่เคยไปเยือนญี่ปุ่นด้วยตัวเองก็น่าจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก เพราะเราสามารถพบเห็นวิถีชีวิตแบบนี้ได้ทั่วไปในแดนอาทิตย์อุทัย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างโตเกียว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ‘การดื่ม’ คือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่คนญี่ปุ่นสืบทอดกันมานานแล้ว มากไปกว่านั้น ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแดนปลาดิบยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้คนเข้าถึงน้ำเมาได้ง่ายและสะดวกสบาย ที่สำคัญ ภาครัฐยังส่งเสริมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในฝั่งของแบรนด์ใหญ่ไปจนถึงผู้ผลิตรายย่อยระดับท้องถิ่น ชาวญี่ปุ่นกับวัฒนธรรมการดื่ม ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการดื่มที่ยาวนาน และยังแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชนในปัจจุบัน ที่เป็นแบบนั้นเพราะการดื่มของผู้คนในแดนปลาดิบไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อผ่อนคลายหรือสังสรรค์เพียงอย่างเดียว แต่ยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมทางสังคมและธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมานาน ชาวญี่ปุ่นมองว่าการดื่มคือหนึ่งวิธีแบ่งปันความรู้สึกของ ‘การอยู่ร่วมกัน’ (Togetherness) และ ‘ความซื่อสัตย์’ (Honesty) ที่นี่จึงมีวัฒนธรรมการดื่มที่เรียกว่า ‘โนมิไก’ (NoMiKai) ซึ่งมาจากคำว่า ‘nomi’ (飲み) ที่แปลว่าดื่ม และ ‘kai’ (会) ที่แปลว่างานรวมหรืองานประชุม เมื่อนำมารวมกัน โนมิไกจึงแปลว่างานสังสรรค์ที่เน้นการดื่มมากกว่าการกิน และเป็นการสังสรรค์กันหลังเลิกงาน โดยส่วนใหญ่การดื่มลักษณะนี้จะเกิดขึ้นที่ร้านอาหารและบาร์สไตล์ญี่ปุ่นที่เรียกว่า ‘อิซากายะ’ (Izakaya) แม้ว่าโนมิไกจะไม่ใช่การบังคับ แต่พนักงานส่วนใหญ่มักถูกคาดหวังให้เข้าร่วมการดื่มหลังเลิกงาน เนื่องจากคนส่วนใหญ่มองว่าการเข้าสังคมลักษณะนี้คือส่วนหนึ่งของการทำงาน ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงคนทำงานเข้าหากัน เหมือนเป็นการสร้างคอนเนกชันที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ และอาจส่งผลต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพเช่นกัน แต่การสังสรรค์ลักษณะนี้ไม่ได้ใช้กับบริบทการทำงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังรวมถึงการดื่มเพื่อทำความรู้จักเพื่อนใหม่ หรือสร้างความสนิทสนมระหว่างกลุ่มเพื่อนด้วย สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของญี่ปุ่น หลายคนอาจนึกถึง […]

‘คลองแม่ข่า’ สายน้ำเน่าที่กำลังถูกเปลี่ยนให้เป็นอนาคตของเมืองเชียงใหม่ หรือจะถอยหลังลงคลอง

หากเอ่ยถึง ‘คลองแม่ข่า’ ในปัจจุบัน หลายคนน่าจะนึกถึงทางเดินเลียบคลองสวยๆ แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ในตัวเมืองเชียงใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ขณะนี้ และเพิ่งได้รับสมญาใหม่ว่าเป็น ‘คลองโอตารุ’ ของจังหวัดเชียงใหม่ แต่หากย้อนกลับไปถามคนเชียงใหม่เมื่อไม่กี่ปีที่แล้ว ทุกคนจะนึกถึงคลองแม่ข่าว่าเป็นแหล่งน้ำเน่าเสีย นั่นคือภาพลักษณ์ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมาสำหรับคนเชียงใหม่  เพราะตลอดหลายปีนั้น ชาวเชียงใหม่ต่างคุ้นเคยกับการได้เห็นและได้ยินการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ที่ทุกครั้งจะต้องมีนโยบายทำคลองแม่ข่าให้กลับมาใสอยู่ด้วยเสมอ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม หลายคนจึงอดไม่ได้ที่จะหมดหวังได้เห็นคลองแม่ข่ากลับมาใส จนกระทั่งปีที่แล้วที่มีการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองแม่ข่าใหม่ให้สวยงาม ด้วยภาพสะอาดสะอ้านแปลกใหม่ที่ถูกนำเสนอออกมา ทำให้คลองแห่งนี้กลับมาได้รับความสนใจจากคนเชียงใหม่จำนวนมาก ก่อนจะขยายไปถึงคนจังหวัดอื่นๆ ที่เดินทางมาเที่ยวเดินถ่ายรูปเล่นที่คลองแห่งนี้ ซึ่งทางจังหวัดเชียงใหม่เองก็พยายามจัดให้มีกิจกรรมภายในพื้นที่แห่งนี้อยู่สม่ำเสมอ ชาวเชียงใหม่หลายคนที่ได้มาเดินเล่นที่นี่ ต่างแสดงความยินดีที่คลองแม่ข่ากลับมาเป็นคลองน้ำใส ไม่เน่าเสียอีกแล้ว…แต่น่าเสียดายที่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะพื้นที่ที่มีการปรับภูมิทัศน์ให้เดินเล่นกันนั้นเป็นเพียงแค่ระยะ 756 เมตร จากระยะทั้งหมด 11 กิโลเมตรของคลองแม่ข่าในเขตเมืองเชียงใหม่ที่ยังคงเน่าเสีย มีปัญหา และรอคอยการแก้ไขพัฒนาต่อไป จึงทำให้มีเสียงค่อนขอดขึ้นมา ตั้งแต่ความพยายามเป็นญี่ปุ่นทั้งที่เชียงใหม่ก็มีวัฒนธรรมเอกลักษณ์ของตนเอง จังหวัดพยายามนำเสนอแต่ภาพลักษณ์ดีๆ ของพื้นที่คลองบริเวณนี้เพื่อซุกปัญหาคลองแม่ข่าในส่วนอื่นๆ อีกจำนวนมากไว้ใต้ภาพสวยงาม หรือแม้แต่ตำหนิว่านี่เป็นการถอยหลังลงคลอง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะ 756 เมตรของคลองแม่ข่าครั้งนี้ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่แสดงให้เห็นว่ากำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไป และเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นก็แสดงให้เห็นว่าแม่ข่าเกี่ยวโยงกับผู้คน และมีคนจำนวนไม่น้อยกำลังให้ความสนใจกับลำน้ำสายนี้ คลองแห่งนี้มีความสำคัญต่อเชียงใหม่อย่างไร ทำไมถึงมีหลายองค์กรหลายผู้คนพยายามปรับปรุงให้มันกลับมาดีอีกครั้งตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา  ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของแม่น้ำสายนี้ คอลัมน์ Report ขอนำเสนอเรื่องราวหลากหลายมิติที่สายน้ำนี้ได้ไปเกี่ยวโยง โดยลองถอยออกจากความเป็นคลองโอตารุ ไม่ต้องถึงกับถอยลงคลอง แค่ถอยมามองและทำความรู้จักกับน้ำแม่ข่า […]

Olympic Games 2024 มหกรรมกีฬาแห่งการพัฒนาปารีส และนำเสนอตัวตนของฝรั่งเศส

ผ่านมา 100 ปีพอดีหลังจากเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ครั้งสุดท้ายของประเทศฝรั่งเศสในปี 1924 กลับมาคราวนี้ 2024 ประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส รับไม้ต่อจากโตเกียวในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกอีกครั้งในรอบศตวรรษ มหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ได้มีการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นฝรั่งเศสผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งโลโก้ มาสคอต โปสเตอร์ และชุดกีฬา โดยมุ่งเน้นเรื่องของเสรีภาพและการเปิดรับความหลากหลายที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาจากทั่วโลก มากไปกว่านั้น การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับนักกีฬามากกว่า 14,500 คนและนักท่องเที่ยวหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้ปารีสต้องขยับตัวเปลี่ยนแปลง หนึ่งในนั้นคือการสร้างอาคารใหม่หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น บวกกับต้องสอดคล้องกับความยั่งยืน และเปลี่ยนกรุงปารีสให้กลายเป็นเมืองสีเขียวสำหรับทุกคน คอลัมน์ Report เดือนนี้อยากพาไปดูว่า การรับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ จะทำให้เมืองชั้นนำของโลกทั้งในด้านศิลปะและแฟชั่นอย่างปารีสที่เคยเป็นเมืองที่วุ่นวายและสกปรก พิสูจน์ถึงศักยภาพความพร้อมของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเมืองน้ำหอมจะใช้โอกาสนี้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมืองไปอย่างไรบ้าง พัฒนาเมืองเพื่อรองรับมหกรรมกีฬาระดับโลก การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เมืองปารีสจำเป็นต้องเตรียมตัวมากมายทั้งด้านสถานที่และผู้คน จึงมีการวางแผนพัฒนาเมืองโดยเน้นการใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ก็สร้างขึ้นชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยคาร์บอนสู่ธรรมชาติ กรุงปารีสเริ่มปรับภูมิทัศน์เมืองโดยคำนึงถึงนวัตกรรม พื้นที่สีเขียว และความยั่งยืน เริ่มจากการปรับโครงสร้างเมืองทั้งหอไอเฟลและสถานที่สำคัญทั้งหมดให้ถูกล้อมรอบด้วยสวน ซึ่งจะกลายเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ติดอันดับโลก พร้อมปรับเส้นทางภายในเมืองให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการเดิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนเข้าถึงการแข่งขันได้ง่ายขึ้น และยังทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานที่สำคัญอันเก่าแก่ เพื่อทำให้พื้นที่เหล่านั้นกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น หลักการสำคัญของโปรเจกต์นี้คือ การลากเส้นเชื่อมต่อพื้นที่สำคัญๆ โดยมีหอไอเฟลและแลนด์มาร์กรอบๆ ได้แก่ ปลาส ดู ทรอกาเดโร […]

จับตามอง 5 อีเวนต์และความเปลี่ยนแปลงทั่วโลก ที่จะเกิดขึ้นภายในปี 2024

เริ่มต้นปีใหม่แบบนี้ หลายคนคงสงสัยว่าตลอดทั้งปีจะมีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้าง และเราจำเป็นต้องรู้มากน้อยขนาดไหน Urban Creature รวบรวม 5 กิจกรรมและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทั่วโลกภายในปี 2024 ให้ทุกคนเตรียมตัวและตั้งตารอไปพร้อมกัน มีตั้งแต่มหกรรมกีฬาระดับโลก การย้ายเมืองหลวงของอินโดนีเซีย ไปจนถึงการเลือกตั้งใหญ่ในหลายประเทศทั่วโลก รับรองว่าน่าสนใจและน่าติดตามไม่แพ้ปีที่ผ่านมาแน่นอน! มหกรรมกีฬา ‘โอลิมปิก ปารีส 2024’ อย่างที่รู้กันว่า ทุก 4 ปีจะมีการจัดมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติที่ทั่วโลกตั้งตารอ นั่นคือ ‘โอลิมปิกฤดูร้อน’ และในปี 2024 ก็เป็นอีกครั้งที่การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศจะถูกจัดขึ้นโดยเมืองเจ้าภาพอย่างกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม 2024 ต่อด้วย ‘พาราลิมปิก ปารีส 2024’ ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 8 กันยายน 2024 ความพิเศษของโอลิมปิก ปารีส 2024 คือ จะเป็นการแข่งขันครั้งแรกที่บรรลุความเท่าเทียมทางเพศได้อย่างสมบูรณ์ (Gender Parity) เพราะมีจำนวนนักกีฬาชายและหญิงที่เข้าร่วมแข่งขันเท่ากันในสัดส่วน 50 […]

สำรวจเบื้องหลัง ‘หมาล่า’ ที่ไม่ได้แค่ทำให้เผ็ดลิ้นชา แต่มาพร้อมชุมชนจีนใหม่

‘เย็นนี้กินหมาล่าไหม’ เชื่อเถอะว่ารอบตัวของเราต้องมีเพื่อนอย่างน้อยหนึ่งคนที่ประกาศตัวเองเป็น ‘หมาล่าเลิฟเวอร์’ ชนิดที่ถ้า 1 สัปดาห์มี 7 วัน คนเหล่านี้จะกินหมาล่าไปแล้ว 6 วัน ร้านไหนที่เขาว่าดี ว่าอร่อย หรือเพิ่งเปิดใหม่ก็เคยบุกตะลุยไปจุ่มฟองเต้าหู้มาหมดแล้ว  นอกจากเทรนด์อาหารการกิน ปรากฏการณ์ ‘หมาล่า’ ฟีเวอร์ยังบอกอะไรกับเราอีกบ้าง วันนี้ Urban Creature ชวนมาแกะรหัส สำรวจเส้นทางหมาล่าไปพร้อมๆ กันในคอลัมน์ Report ตั้งแต่ต้นกำเนิดของเมนูนี้ มูลค่าทางเศรษฐกิจ ไปจนถึงมิติทางการเมืองที่มาพร้อมการคืบคลานของชาติที่ให้กำเนิดหมาล่า 01 | หมาล่าไม่ใช่ชื่ออาหาร แต่เป็นรสชาติความเผ็ดชา หันไปทางนู้นก็หมาล่า หันไปทางนี้ก็หมาล่า แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า คำว่า ‘หมาล่า’ ที่เราใช้เรียกอาหารชนิดนี้กันจนติดปาก ไม่ใช่ชื่อเรียกของ ‘พริก’ แต่เป็นชื่อเรียก ‘รสชาติอาหาร’ ที่เราสัมผัสได้ในระหว่างการกินต่างหาก เพราะแท้จริงแล้ว คำว่าหมาล่าถูกถอดเสียงมาจากคำอ่านภาษาจีนกลางของอักษรทั้งหมด 2 ตัว ได้แก่ 麻 (má) อ่านว่า ‘หมา’ แปลว่า อาการชา และ […]

สำรวจภัยธรรมชาติถล่มโลกปี 2023 ผลกระทบจาก ‘ภาวะโลกเดือด’

ถ้าคุณคิดว่าสภาพอากาศของปีนี้ร้อนกว่าปีก่อนๆ หรือรู้สึกว่าตัวเองได้ยินข่าวคราวภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยขึ้นก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะวิกฤตการณ์ Climate Change ทวีความรุนแรงขึ้นจริงๆ ยืนยันโดยสหประชาชาติที่ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ยุคของ ‘ภาวะโลกร้อน’ (Global Warming) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และโลกกำลังย่างเข้าสู่ยุคของ ‘ภาวะโลกเดือด’ (Global Boiling) อย่างเต็มตัว คอลัมน์ Report อยากพาไปสำรวจผลพวงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านส่วนหนึ่งของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปีนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงวิกฤตโลกร้อนที่แปรปรวนและน่ากังวลกว่าเดิม คลื่นความร้อนปกคลุมทั่วโลก สัญญาณที่บ่งบอกว่าโลกของเราร้อนถึงขั้นเดือดแล้วคือการที่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า เดือนกรกฎาคม ปี 2023 จะเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่โลกเริ่มมีการบันทึกสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยพื้นผิวโลกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแตะระดับสูงถึง 16.95 องศาเซลเซียส สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย 16.63 องศาเซลเซียสที่เคยบันทึกไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2019 เพราะเหตุนี้ หลายภูมิภาคทั่วโลกจึงเผชิญกับ ‘คลื่นความร้อน’ (Heatwave) ที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย สำหรับสหรัฐอเมริกา ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมามีชาวอเมริกันมากถึง 1 ใน 3 หรือราว 113 ล้านคน ได้รับการแจ้งเตือนอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด โดยพื้นที่ที่เจอคลื่นความร้อนหนักที่สุดคือรัฐทางตอนใต้ เช่น […]

ขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ หันไปทางไหนก็เจอแต่อันตราย?

กรุงเทพฯ คือเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขนส่งสาธารณะหลากประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือข้ามฟาก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสองแถว รถตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ ที่พร้อมพาผู้โดยสารฝ่าทุกรถติดและซิ่งไปให้ถึงทุกพื้นที่เส้นเลือดฝอยที่กระจายอยู่ทั่วเมือง ถือเป็นยานพาหนะที่เกิดมาเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์แสนเร่งรีบของชาวกรุง ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเครือข่ายขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุมของมหานครแห่งนี้ด้วย แต่ถ้าสังเกตดีๆ นอกจากความรวดเร็วและความสะดวกสบาย การใช้บริการขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ เหล่านี้ยังมาพร้อมความเสี่ยงและอันตรายรอบด้าน เช่น รถเมล์ขับเร็วและกระชาก เรือข้ามฟากเจอคลื่นลมแรงจนเกือบจม หรือแม้แต่วินมอเตอร์ไซค์ที่พาขี่ซิกแซกปาดซ้ายขวา จนผู้โดยสารต้องนั่งลุ้นตัวเกร็งและรู้สึกไม่ปลอดภัยเอาเสียเลย ในเมืองที่ผู้คนเดินทางแทบจะตลอดทั้งวัน มีขนส่งสาธารณะประเภทไหนบ้างที่ดูไม่ค่อยปลอดภัย เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุต่อทั้งคนขับและผู้โดยสาร คอลัมน์ Report ขอชวนไปสำรวจอันตรายใกล้ตัวผ่านบทความนี้ โดยหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการชี้ปัญหาซึ่งนำไปสู่การเสริมสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้กับขนส่งสาธารณะไทย รถเมล์ : รถโดยสารประจำทางที่ทั้งเร็วและแรง เริ่มกันด้วยขนส่งสาธารณะที่คนส่วนมากเลือกใช้อย่าง ‘รถเมล์’ เพราะค่าเดินทางถูกกว่ารถไฟฟ้าบีทีเอสหรือรถไฟฟ้าใต้ดินหลายเท่าตัว แต่ข้อเสียที่ผู้โดยสารต้องเจอคือการจราจรที่ติดขัด ทำให้การเดินทางหนึ่งเที่ยวอาจใช้เวลานานเป็นชั่วโมง เท่านั้นยังไม่พอ การเดินทางด้วยรถเมล์ไทยยังมาพร้อมกับอันตรายและความเสี่ยง โดยเฉพาะ ‘รถเมล์ธรรมดา’ หรือ ‘รถเมล์ร้อน’ ที่มีสภาพเก่าคร่ำครึ ประตูหน้าต่างชำรุด แถมยังไม่เหมาะกับสภาพอากาศร้อนหรือฝนตกชุกของเมืองไทยอีกด้วย ที่อันตรายไปกว่านั้นคือ รถเมล์ไทยที่มีสภาพทรุดโทรมยังอาจก่อให้เกิดเหตุไฟลุกไหม้ได้เช่นกัน โดยระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2561 มีรายงานข่าวรถเมล์เกิดเพลิงไหม้อย่างน้อย 13 ครั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ […]

ส่องปัญหาสังคมและโครงสร้างผ่านมอ’ไซค์ไทย

“บ้านเช่าได้ แต่มอเตอร์ไซค์ต้องซื้อ” นี่คือประโยคเปรียบเปรยที่ดูไม่ไกลเกินจริง เพราะเราเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่มีมอเตอร์ไซค์เป็นของตัวเอง ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป ทั้งความสะดวกและความคล่องตัวในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่ารถยนต์หรือขนส่งสาธารณะ และการใช้ประกอบอาชีพต่างๆ หลายครอบครัวจำเป็นต้องมียานพาหนะประเภทนี้ เพราะบริเวณที่พวกเขาอาศัยอยู่ไม่มีขนส่งมวลชนที่เข้าถึงได้เลย ความต้องการที่เยอะขึ้นและประโยชน์ของมอเตอร์ไซค์ที่ตอบโจทย์ชีวิตคนในประเทศนี้ ทำให้ในปัจจุบันไทยมีการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์มากกว่า 22 ล้านคัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 กว่า 4.5 แสนคัน คนไทยใช้มอ’ไซค์มากที่สุดในโลก ใครที่ต้องเดินทางออกจากบ้านเป็นประจำโดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ คงเคยสังเกตว่าท้องถนนมีมอเตอร์ไซค์ขวักไขว่เต็มไปหมด ส่วนในซอยต่างๆ ก็มียานพาหนะสองล้อเข้าออกให้เห็นตลอดทั้งวัน หรือแม้แต่ตอนเดินอยู่บนทางเท้า จู่ๆ ก็มีคนขี่มอเตอร์ไซค์สวนมาเสียอย่างนั้น ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมบ้านเราถึงมีมอเตอร์ไซค์เยอะขนาดนี้ หลายคนไม่ได้คิดไปเองแน่นอน เพราะข้อมูลจาก Pew Research Center ปี 2023 เปิดเผยว่า ประเทศไทยมี ‘การใช้งานจักรยานยนต์มากที่สุดในโลก’ โดยสัดส่วนของครัวเรือนในประเทศไทยที่เป็นเจ้าของจักรยานยนต์อย่างน้อยหนึ่งคันมีมากถึง 87 เปอร์เซ็นต์ พูดให้เห็นภาพคือ จากจำนวนครัวเรือนทั้งหมดราว 18 ล้านครัวเรือน จะมีจักรยานยนต์รวมกันอย่างน้อย 15 ล้านคัน สถิตินี้ยังพบว่า 58 เปอร์เซ็นต์ของมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกอยู่ในภูมิภาค ‘เอเชียแปซิฟิก’ โดยประเทศอื่นๆ ที่มีสัดส่วนการถือครอบครองมอเตอร์ไซค์รองจากไทย […]

Olympic Games 2024 มหกรรมกีฬาแห่งการพัฒนาปารีส และนำเสนอตัวตนของฝรั่งเศส

ผ่านมา 100 ปีพอดีหลังจากเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ครั้งสุดท้ายของประเทศฝรั่งเศสในปี 1924 กลับมาคราวนี้ 2024 ประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส รับไม้ต่อจากโตเกียวในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกอีกครั้งในรอบศตวรรษ มหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ได้มีการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นฝรั่งเศสผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งโลโก้ มาสคอต โปสเตอร์ และชุดกีฬา โดยมุ่งเน้นเรื่องของเสรีภาพและการเปิดรับความหลากหลายที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาจากทั่วโลก มากไปกว่านั้น การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับนักกีฬามากกว่า 14,500 คนและนักท่องเที่ยวหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้ปารีสต้องขยับตัวเปลี่ยนแปลง หนึ่งในนั้นคือการสร้างอาคารใหม่หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น บวกกับต้องสอดคล้องกับความยั่งยืน และเปลี่ยนกรุงปารีสให้กลายเป็นเมืองสีเขียวสำหรับทุกคน คอลัมน์ Report เดือนนี้อยากพาไปดูว่า การรับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ จะทำให้เมืองชั้นนำของโลกทั้งในด้านศิลปะและแฟชั่นอย่างปารีสที่เคยเป็นเมืองที่วุ่นวายและสกปรก พิสูจน์ถึงศักยภาพความพร้อมของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเมืองน้ำหอมจะใช้โอกาสนี้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมืองไปอย่างไรบ้าง พัฒนาเมืองเพื่อรองรับมหกรรมกีฬาระดับโลก การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เมืองปารีสจำเป็นต้องเตรียมตัวมากมายทั้งด้านสถานที่และผู้คน จึงมีการวางแผนพัฒนาเมืองโดยเน้นการใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ก็สร้างขึ้นชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยคาร์บอนสู่ธรรมชาติ กรุงปารีสเริ่มปรับภูมิทัศน์เมืองโดยคำนึงถึงนวัตกรรม พื้นที่สีเขียว และความยั่งยืน เริ่มจากการปรับโครงสร้างเมืองทั้งหอไอเฟลและสถานที่สำคัญทั้งหมดให้ถูกล้อมรอบด้วยสวน ซึ่งจะกลายเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ติดอันดับโลก พร้อมปรับเส้นทางภายในเมืองให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการเดิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนเข้าถึงการแข่งขันได้ง่ายขึ้น และยังทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานที่สำคัญอันเก่าแก่ เพื่อทำให้พื้นที่เหล่านั้นกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น หลักการสำคัญของโปรเจกต์นี้คือ การลากเส้นเชื่อมต่อพื้นที่สำคัญๆ โดยมีหอไอเฟลและแลนด์มาร์กรอบๆ ได้แก่ ปลาส ดู ทรอกาเดโร […]

จับตามอง 5 อีเวนต์และความเปลี่ยนแปลงทั่วโลก ที่จะเกิดขึ้นภายในปี 2024

เริ่มต้นปีใหม่แบบนี้ หลายคนคงสงสัยว่าตลอดทั้งปีจะมีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้าง และเราจำเป็นต้องรู้มากน้อยขนาดไหน Urban Creature รวบรวม 5 กิจกรรมและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทั่วโลกภายในปี 2024 ให้ทุกคนเตรียมตัวและตั้งตารอไปพร้อมกัน มีตั้งแต่มหกรรมกีฬาระดับโลก การย้ายเมืองหลวงของอินโดนีเซีย ไปจนถึงการเลือกตั้งใหญ่ในหลายประเทศทั่วโลก รับรองว่าน่าสนใจและน่าติดตามไม่แพ้ปีที่ผ่านมาแน่นอน! มหกรรมกีฬา ‘โอลิมปิก ปารีส 2024’ อย่างที่รู้กันว่า ทุก 4 ปีจะมีการจัดมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติที่ทั่วโลกตั้งตารอ นั่นคือ ‘โอลิมปิกฤดูร้อน’ และในปี 2024 ก็เป็นอีกครั้งที่การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศจะถูกจัดขึ้นโดยเมืองเจ้าภาพอย่างกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม 2024 ต่อด้วย ‘พาราลิมปิก ปารีส 2024’ ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 8 กันยายน 2024 ความพิเศษของโอลิมปิก ปารีส 2024 คือ จะเป็นการแข่งขันครั้งแรกที่บรรลุความเท่าเทียมทางเพศได้อย่างสมบูรณ์ (Gender Parity) เพราะมีจำนวนนักกีฬาชายและหญิงที่เข้าร่วมแข่งขันเท่ากันในสัดส่วน 50 […]

สำรวจเบื้องหลัง ‘หมาล่า’ ที่ไม่ได้แค่ทำให้เผ็ดลิ้นชา แต่มาพร้อมชุมชนจีนใหม่

‘เย็นนี้กินหมาล่าไหม’ เชื่อเถอะว่ารอบตัวของเราต้องมีเพื่อนอย่างน้อยหนึ่งคนที่ประกาศตัวเองเป็น ‘หมาล่าเลิฟเวอร์’ ชนิดที่ถ้า 1 สัปดาห์มี 7 วัน คนเหล่านี้จะกินหมาล่าไปแล้ว 6 วัน ร้านไหนที่เขาว่าดี ว่าอร่อย หรือเพิ่งเปิดใหม่ก็เคยบุกตะลุยไปจุ่มฟองเต้าหู้มาหมดแล้ว  นอกจากเทรนด์อาหารการกิน ปรากฏการณ์ ‘หมาล่า’ ฟีเวอร์ยังบอกอะไรกับเราอีกบ้าง วันนี้ Urban Creature ชวนมาแกะรหัส สำรวจเส้นทางหมาล่าไปพร้อมๆ กันในคอลัมน์ Report ตั้งแต่ต้นกำเนิดของเมนูนี้ มูลค่าทางเศรษฐกิจ ไปจนถึงมิติทางการเมืองที่มาพร้อมการคืบคลานของชาติที่ให้กำเนิดหมาล่า 01 | หมาล่าไม่ใช่ชื่ออาหาร แต่เป็นรสชาติความเผ็ดชา หันไปทางนู้นก็หมาล่า หันไปทางนี้ก็หมาล่า แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า คำว่า ‘หมาล่า’ ที่เราใช้เรียกอาหารชนิดนี้กันจนติดปาก ไม่ใช่ชื่อเรียกของ ‘พริก’ แต่เป็นชื่อเรียก ‘รสชาติอาหาร’ ที่เราสัมผัสได้ในระหว่างการกินต่างหาก เพราะแท้จริงแล้ว คำว่าหมาล่าถูกถอดเสียงมาจากคำอ่านภาษาจีนกลางของอักษรทั้งหมด 2 ตัว ได้แก่ 麻 (má) อ่านว่า ‘หมา’ แปลว่า อาการชา และ […]

สำรวจภัยธรรมชาติถล่มโลกปี 2023 ผลกระทบจาก ‘ภาวะโลกเดือด’

ถ้าคุณคิดว่าสภาพอากาศของปีนี้ร้อนกว่าปีก่อนๆ หรือรู้สึกว่าตัวเองได้ยินข่าวคราวภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยขึ้นก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะวิกฤตการณ์ Climate Change ทวีความรุนแรงขึ้นจริงๆ ยืนยันโดยสหประชาชาติที่ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ยุคของ ‘ภาวะโลกร้อน’ (Global Warming) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และโลกกำลังย่างเข้าสู่ยุคของ ‘ภาวะโลกเดือด’ (Global Boiling) อย่างเต็มตัว คอลัมน์ Report อยากพาไปสำรวจผลพวงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านส่วนหนึ่งของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปีนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงวิกฤตโลกร้อนที่แปรปรวนและน่ากังวลกว่าเดิม คลื่นความร้อนปกคลุมทั่วโลก สัญญาณที่บ่งบอกว่าโลกของเราร้อนถึงขั้นเดือดแล้วคือการที่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า เดือนกรกฎาคม ปี 2023 จะเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่โลกเริ่มมีการบันทึกสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยพื้นผิวโลกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแตะระดับสูงถึง 16.95 องศาเซลเซียส สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย 16.63 องศาเซลเซียสที่เคยบันทึกไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2019 เพราะเหตุนี้ หลายภูมิภาคทั่วโลกจึงเผชิญกับ ‘คลื่นความร้อน’ (Heatwave) ที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย สำหรับสหรัฐอเมริกา ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมามีชาวอเมริกันมากถึง 1 ใน 3 หรือราว 113 ล้านคน ได้รับการแจ้งเตือนอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด โดยพื้นที่ที่เจอคลื่นความร้อนหนักที่สุดคือรัฐทางตอนใต้ เช่น […]

ขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ หันไปทางไหนก็เจอแต่อันตราย?

กรุงเทพฯ คือเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขนส่งสาธารณะหลากประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือข้ามฟาก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสองแถว รถตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ ที่พร้อมพาผู้โดยสารฝ่าทุกรถติดและซิ่งไปให้ถึงทุกพื้นที่เส้นเลือดฝอยที่กระจายอยู่ทั่วเมือง ถือเป็นยานพาหนะที่เกิดมาเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์แสนเร่งรีบของชาวกรุง ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเครือข่ายขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุมของมหานครแห่งนี้ด้วย แต่ถ้าสังเกตดีๆ นอกจากความรวดเร็วและความสะดวกสบาย การใช้บริการขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ เหล่านี้ยังมาพร้อมความเสี่ยงและอันตรายรอบด้าน เช่น รถเมล์ขับเร็วและกระชาก เรือข้ามฟากเจอคลื่นลมแรงจนเกือบจม หรือแม้แต่วินมอเตอร์ไซค์ที่พาขี่ซิกแซกปาดซ้ายขวา จนผู้โดยสารต้องนั่งลุ้นตัวเกร็งและรู้สึกไม่ปลอดภัยเอาเสียเลย ในเมืองที่ผู้คนเดินทางแทบจะตลอดทั้งวัน มีขนส่งสาธารณะประเภทไหนบ้างที่ดูไม่ค่อยปลอดภัย เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุต่อทั้งคนขับและผู้โดยสาร คอลัมน์ Report ขอชวนไปสำรวจอันตรายใกล้ตัวผ่านบทความนี้ โดยหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการชี้ปัญหาซึ่งนำไปสู่การเสริมสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้กับขนส่งสาธารณะไทย รถเมล์ : รถโดยสารประจำทางที่ทั้งเร็วและแรง เริ่มกันด้วยขนส่งสาธารณะที่คนส่วนมากเลือกใช้อย่าง ‘รถเมล์’ เพราะค่าเดินทางถูกกว่ารถไฟฟ้าบีทีเอสหรือรถไฟฟ้าใต้ดินหลายเท่าตัว แต่ข้อเสียที่ผู้โดยสารต้องเจอคือการจราจรที่ติดขัด ทำให้การเดินทางหนึ่งเที่ยวอาจใช้เวลานานเป็นชั่วโมง เท่านั้นยังไม่พอ การเดินทางด้วยรถเมล์ไทยยังมาพร้อมกับอันตรายและความเสี่ยง โดยเฉพาะ ‘รถเมล์ธรรมดา’ หรือ ‘รถเมล์ร้อน’ ที่มีสภาพเก่าคร่ำครึ ประตูหน้าต่างชำรุด แถมยังไม่เหมาะกับสภาพอากาศร้อนหรือฝนตกชุกของเมืองไทยอีกด้วย ที่อันตรายไปกว่านั้นคือ รถเมล์ไทยที่มีสภาพทรุดโทรมยังอาจก่อให้เกิดเหตุไฟลุกไหม้ได้เช่นกัน โดยระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2561 มีรายงานข่าวรถเมล์เกิดเพลิงไหม้อย่างน้อย 13 ครั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ […]

ส่องปัญหาสังคมและโครงสร้างผ่านมอ’ไซค์ไทย

“บ้านเช่าได้ แต่มอเตอร์ไซค์ต้องซื้อ” นี่คือประโยคเปรียบเปรยที่ดูไม่ไกลเกินจริง เพราะเราเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่มีมอเตอร์ไซค์เป็นของตัวเอง ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป ทั้งความสะดวกและความคล่องตัวในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่ารถยนต์หรือขนส่งสาธารณะ และการใช้ประกอบอาชีพต่างๆ หลายครอบครัวจำเป็นต้องมียานพาหนะประเภทนี้ เพราะบริเวณที่พวกเขาอาศัยอยู่ไม่มีขนส่งมวลชนที่เข้าถึงได้เลย ความต้องการที่เยอะขึ้นและประโยชน์ของมอเตอร์ไซค์ที่ตอบโจทย์ชีวิตคนในประเทศนี้ ทำให้ในปัจจุบันไทยมีการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์มากกว่า 22 ล้านคัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 กว่า 4.5 แสนคัน คนไทยใช้มอ’ไซค์มากที่สุดในโลก ใครที่ต้องเดินทางออกจากบ้านเป็นประจำโดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ คงเคยสังเกตว่าท้องถนนมีมอเตอร์ไซค์ขวักไขว่เต็มไปหมด ส่วนในซอยต่างๆ ก็มียานพาหนะสองล้อเข้าออกให้เห็นตลอดทั้งวัน หรือแม้แต่ตอนเดินอยู่บนทางเท้า จู่ๆ ก็มีคนขี่มอเตอร์ไซค์สวนมาเสียอย่างนั้น ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมบ้านเราถึงมีมอเตอร์ไซค์เยอะขนาดนี้ หลายคนไม่ได้คิดไปเองแน่นอน เพราะข้อมูลจาก Pew Research Center ปี 2023 เปิดเผยว่า ประเทศไทยมี ‘การใช้งานจักรยานยนต์มากที่สุดในโลก’ โดยสัดส่วนของครัวเรือนในประเทศไทยที่เป็นเจ้าของจักรยานยนต์อย่างน้อยหนึ่งคันมีมากถึง 87 เปอร์เซ็นต์ พูดให้เห็นภาพคือ จากจำนวนครัวเรือนทั้งหมดราว 18 ล้านครัวเรือน จะมีจักรยานยนต์รวมกันอย่างน้อย 15 ล้านคัน สถิตินี้ยังพบว่า 58 เปอร์เซ็นต์ของมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกอยู่ในภูมิภาค ‘เอเชียแปซิฟิก’ โดยประเทศอื่นๆ ที่มีสัดส่วนการถือครอบครองมอเตอร์ไซค์รองจากไทย […]

ความรุ่มรวยของ ‘สุราชุมชน’ และ ‘วัฒนธรรมการดื่ม’ ของญี่ปุ่น

หนุ่มสาวออฟฟิศใส่สูทผูกไทนั่งสังสรรค์กันในร้านเหล้า มนุษย์เงินเดือนออกไปดื่มกับหัวหน้าและลูกค้าจนดึก แถมยังเมาเละเทะจนหมดสภาพ เหตุการณ์เหล่านี้คือภาพสะท้อนสังคมญี่ปุ่นที่หลายคนคงเคยเห็นในข่าวหรือสื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง ส่วนใครที่เคยไปเยือนญี่ปุ่นด้วยตัวเองก็น่าจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก เพราะเราสามารถพบเห็นวิถีชีวิตแบบนี้ได้ทั่วไปในแดนอาทิตย์อุทัย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างโตเกียว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ‘การดื่ม’ คือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่คนญี่ปุ่นสืบทอดกันมานานแล้ว มากไปกว่านั้น ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแดนปลาดิบยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้คนเข้าถึงน้ำเมาได้ง่ายและสะดวกสบาย ที่สำคัญ ภาครัฐยังส่งเสริมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในฝั่งของแบรนด์ใหญ่ไปจนถึงผู้ผลิตรายย่อยระดับท้องถิ่น ชาวญี่ปุ่นกับวัฒนธรรมการดื่ม ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการดื่มที่ยาวนาน และยังแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชนในปัจจุบัน ที่เป็นแบบนั้นเพราะการดื่มของผู้คนในแดนปลาดิบไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อผ่อนคลายหรือสังสรรค์เพียงอย่างเดียว แต่ยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมทางสังคมและธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมานาน ชาวญี่ปุ่นมองว่าการดื่มคือหนึ่งวิธีแบ่งปันความรู้สึกของ ‘การอยู่ร่วมกัน’ (Togetherness) และ ‘ความซื่อสัตย์’ (Honesty) ที่นี่จึงมีวัฒนธรรมการดื่มที่เรียกว่า ‘โนมิไก’ (NoMiKai) ซึ่งมาจากคำว่า ‘nomi’ (飲み) ที่แปลว่าดื่ม และ ‘kai’ (会) ที่แปลว่างานรวมหรืองานประชุม เมื่อนำมารวมกัน โนมิไกจึงแปลว่างานสังสรรค์ที่เน้นการดื่มมากกว่าการกิน และเป็นการสังสรรค์กันหลังเลิกงาน โดยส่วนใหญ่การดื่มลักษณะนี้จะเกิดขึ้นที่ร้านอาหารและบาร์สไตล์ญี่ปุ่นที่เรียกว่า ‘อิซากายะ’ (Izakaya) แม้ว่าโนมิไกจะไม่ใช่การบังคับ แต่พนักงานส่วนใหญ่มักถูกคาดหวังให้เข้าร่วมการดื่มหลังเลิกงาน เนื่องจากคนส่วนใหญ่มองว่าการเข้าสังคมลักษณะนี้คือส่วนหนึ่งของการทำงาน ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงคนทำงานเข้าหากัน เหมือนเป็นการสร้างคอนเนกชันที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ และอาจส่งผลต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพเช่นกัน แต่การสังสรรค์ลักษณะนี้ไม่ได้ใช้กับบริบทการทำงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังรวมถึงการดื่มเพื่อทำความรู้จักเพื่อนใหม่ หรือสร้างความสนิทสนมระหว่างกลุ่มเพื่อนด้วย สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของญี่ปุ่น หลายคนอาจนึกถึง […]

‘คลองแม่ข่า’ สายน้ำเน่าที่กำลังถูกเปลี่ยนให้เป็นอนาคตของเมืองเชียงใหม่ หรือจะถอยหลังลงคลอง

หากเอ่ยถึง ‘คลองแม่ข่า’ ในปัจจุบัน หลายคนน่าจะนึกถึงทางเดินเลียบคลองสวยๆ แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ในตัวเมืองเชียงใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ขณะนี้ และเพิ่งได้รับสมญาใหม่ว่าเป็น ‘คลองโอตารุ’ ของจังหวัดเชียงใหม่ แต่หากย้อนกลับไปถามคนเชียงใหม่เมื่อไม่กี่ปีที่แล้ว ทุกคนจะนึกถึงคลองแม่ข่าว่าเป็นแหล่งน้ำเน่าเสีย นั่นคือภาพลักษณ์ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมาสำหรับคนเชียงใหม่  เพราะตลอดหลายปีนั้น ชาวเชียงใหม่ต่างคุ้นเคยกับการได้เห็นและได้ยินการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ที่ทุกครั้งจะต้องมีนโยบายทำคลองแม่ข่าให้กลับมาใสอยู่ด้วยเสมอ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม หลายคนจึงอดไม่ได้ที่จะหมดหวังได้เห็นคลองแม่ข่ากลับมาใส จนกระทั่งปีที่แล้วที่มีการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองแม่ข่าใหม่ให้สวยงาม ด้วยภาพสะอาดสะอ้านแปลกใหม่ที่ถูกนำเสนอออกมา ทำให้คลองแห่งนี้กลับมาได้รับความสนใจจากคนเชียงใหม่จำนวนมาก ก่อนจะขยายไปถึงคนจังหวัดอื่นๆ ที่เดินทางมาเที่ยวเดินถ่ายรูปเล่นที่คลองแห่งนี้ ซึ่งทางจังหวัดเชียงใหม่เองก็พยายามจัดให้มีกิจกรรมภายในพื้นที่แห่งนี้อยู่สม่ำเสมอ ชาวเชียงใหม่หลายคนที่ได้มาเดินเล่นที่นี่ ต่างแสดงความยินดีที่คลองแม่ข่ากลับมาเป็นคลองน้ำใส ไม่เน่าเสียอีกแล้ว…แต่น่าเสียดายที่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะพื้นที่ที่มีการปรับภูมิทัศน์ให้เดินเล่นกันนั้นเป็นเพียงแค่ระยะ 756 เมตร จากระยะทั้งหมด 11 กิโลเมตรของคลองแม่ข่าในเขตเมืองเชียงใหม่ที่ยังคงเน่าเสีย มีปัญหา และรอคอยการแก้ไขพัฒนาต่อไป จึงทำให้มีเสียงค่อนขอดขึ้นมา ตั้งแต่ความพยายามเป็นญี่ปุ่นทั้งที่เชียงใหม่ก็มีวัฒนธรรมเอกลักษณ์ของตนเอง จังหวัดพยายามนำเสนอแต่ภาพลักษณ์ดีๆ ของพื้นที่คลองบริเวณนี้เพื่อซุกปัญหาคลองแม่ข่าในส่วนอื่นๆ อีกจำนวนมากไว้ใต้ภาพสวยงาม หรือแม้แต่ตำหนิว่านี่เป็นการถอยหลังลงคลอง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะ 756 เมตรของคลองแม่ข่าครั้งนี้ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่แสดงให้เห็นว่ากำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไป และเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นก็แสดงให้เห็นว่าแม่ข่าเกี่ยวโยงกับผู้คน และมีคนจำนวนไม่น้อยกำลังให้ความสนใจกับลำน้ำสายนี้ คลองแห่งนี้มีความสำคัญต่อเชียงใหม่อย่างไร ทำไมถึงมีหลายองค์กรหลายผู้คนพยายามปรับปรุงให้มันกลับมาดีอีกครั้งตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา  ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของแม่น้ำสายนี้ คอลัมน์ Report ขอนำเสนอเรื่องราวหลากหลายมิติที่สายน้ำนี้ได้ไปเกี่ยวโยง โดยลองถอยออกจากความเป็นคลองโอตารุ ไม่ต้องถึงกับถอยลงคลอง แค่ถอยมามองและทำความรู้จักกับน้ำแม่ข่า […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.